RISK MANAGEMENT : PROJECT RISK MANAGEMENT

การบริหารความเสี่ยง : วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการที่ไม่หวังผลกำไร (ภาค 2)สำหรับรัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานราชการ

หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญและจำเป็นจะต้องใช้งบประมาณมาก ควรจะมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่ไม่หวังผลกำไรด้วยการที่เป็นโครงการ ที่มีลักษณะไม่หวังผลกำไรแต่ใช้งบประมาณสูง จำเป็นที่จะต้องมีการเปิดเผยความสำเร็จของโครงการ ให้กับสังคมรับทราบอย่างชัดเจนว่าความคุ้มค่าของโครงการอยู่ตรงไหน และผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการด้วยการเก็บข้อมูลพื็นฐานและการสำรวจความพึงพอใจ จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลตอบแทนที่สังคมได้รับจากโครงการนี้


โครงสร้างหลักสูตร

วันที่ 1: การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพและวิธีการจัดทำเอกสารรายงานผล
การทำความเข้าใจข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ : เป็นการอธิบายสถานการณ์ของโครงการด้วยการใช้ตัวเลข ซึ่ง ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง อาทิ

  • จำนวนกิจกรรมองค์กรที่จัดขึ้นในเวลา 1 ปี
  • จำนวนครั้งที่ให้บริการในระยะเวลาหนึ่งๆ
  • นอกจากนี้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยประเมินจากตัวเลขที่เชื่อถือได้ เพื่อใช้ใน ในการบ่งบอกถึงผลการดำเนินงานของโครงการในช่วงเวลาที่ผ่านมา

    การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อการประเมินระดับความสามารถของโครงการ ในด้านต่างๆ โดยไม่ใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลข โดยปกติข้อมูลเชิงคุณภาพจะประกอบไปด้วย อาทิ ข้อความ ความคิดและเรื่องราวที่อธิบายสถานการณ์ เช่น การสัมภาษณ์ การจัดสนทนาเป็นกลุ่มเฉพาะ

การเตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์

ก่อนที่จะวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาจากโครงการ หน่วยงานประเมินโครงการจำเป็นที่จะต้องจัดหมวดหมู่ รหัสและจัดระเบียบให้เป็นไฟล์ที่สามารถจัดการและตั้งโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์ หรือ จัดเอกสารให้ ให้เป็นแฟ้มเรื่องต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบเอกสารอ้างอิงในภายหลัง เคล็ดลับ วิธีการเตรียมไฟล์ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์

  • การสร้างแฟ้มข้อมูลสำหรับเครื่องมือการประเมินผลแต่ละครั้ง เช่น ใสวันที่ รุ่นที่แก้ไข
  • การพูดถ่ายทอดสิ่งที่คุณตรวจสอบพบใส่ในเทปบันทึกใดๆ และเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์
  • ใช้โปแกรมซอฟต์แวร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น Excel หรือ SPSS
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

เมื่อคุณมีแฟ้มข้อมูลที่เก็บมาจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ หน่วยงานประเมินโครงการจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง และอาจจะขอความเห็นเพิ่ม วิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเชิงปริมาณ

  • สังเกตกลุ่มตัวเลขหมวดที่สำคัญ ที่คาดว่าจะไม่ถูกต้อง เช่น ตัวเลขที่แตกต่างแบบน่าสงสัย
  • ตรวจสอบผลรวมย่อยของตัวเลขในแต่ละกลุ่ม จะต้องไม่แตกต่างมากจนเกินไป
  • จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม ที่หน่วยงานกำหนดตั้งแต่แรกกับจำนวนชุดแบบสอบถามที่ได้รับจริง
การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลหน่วยงานประเมินโครงการ มีความจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรมด้านทักษะ เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงการ และประเมินผลโครงการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และการวิจัยดีพอ

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
  • หน่วยงานประเมินจะต้องนำแนวการตั้งคำถามที่ใช้ประเมินผล (ทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ที่ มุ่งเน้น) ที่หน่วยงานสามารถวิเคราะห์ข้อมูลปัจจุบันของหน่วยงานได้ เทคนิคจากภาคที่ 1
  • การนำเทคนิคเกี่ยวกับการทบทวนและคัดสรรตัวชี้วัด จากภาคที่ 1 เฉพาะตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ที่หน่วยงานสามารถวัดหรือกำหนดด้วยข้อมูลปัจจุบันของหน่วยงาน
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
  • การจัดทำแผนการทดสอบข้อมูลเชิงคุณภาพของหน่วยงานด้วยการนำเทคนิค จากภาคที่ 1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำถามการประเมินผล (ทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ที่มุ่งเน้น) ที่สามารถตอบได้
  • การทบทวนและการคัดสรรตัวชี้วัดด้วยการนำเทคนิค จากภาคที่ 1 โดยเฉพาะตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ที่หน่วยงานสามารถวัดหรือกำหนดได้ด้วยข้อมูลปัจจุบันของหน่วยงาน
การตีความผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์โครงการของหน่วยงาน

เทคนิคการตีความผลลัพธ์การวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ นอกจากนี้หน่วยงาน อาจจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านวิธีการอื่นๆ เช่น การเก็บรวบรวมเอกสารบางอย่าง ซึ่งการตีความ จะต้องพิจารณาประเด็นที่ใช้วัดความสำเร็จและความล้มเหลว การปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานของ โครงการ นอกจากนี้ยังจะต้องตระหนักถึงทั้งการยืนยันทางบวกและความขัดแย้งหรือผลการวิจัยเชิงลบ

เคล็ดลับสำหรับวิธีการตีคามผลลัพธ์การประเมินของหน่วยงาน
  • การสอบถามตัวเองว่า โครงการนี้ทำแล้วบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ หรือไม่?
  • การประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการจากผลการวิเคราะห์ด้านเชิงปริมาณและด้านเชิงคุณภาพ
  • การวิเคราะห์ผลลัพธ์จำเป็นที่จะต้องมีการฝึกทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดี และมีแนวทางที่มาตรฐาน
เทคนิคการใช้ผลการประเมิน

ระบุวิธีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของโครงการหลังจากที่ตรวจสอบและประเมินผล อำนวยความสะดวกให้กับผู้รับผิดชอบโครงการที่จะปรับเปลี่ยนบางส่วนของโครงการตามความเห็น ของหน่วยงานประเมินผลโครงการ การจัดทำรายงานโครงการ (เช่น รายงานระยะกลาง และรายงานระยะสุดท้ายของโครงการ)

การจัดทำรายงานการประเมินผล

การกำหนดกลุ่มผู้จะอ่านรายงานของหน่วยงาน ซึ่งอาจจะเป็นตัวแทนกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเลือกใช้คำที่สั้นกระชับ เข้าใจง่าย และอธิบายวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการให้บรรลุ การจัดลำดับขั้นตอนของการนำเสนอรายงานที่หน่วยงานประเมินผล และต้องการสรุปให้เข้าใจ

เทคนิคการนำเสนอผลงาน
  • ระบุกลุ่มเป้าหมายและความต้องการของพวกเขา ความสนใจของพวกเขา ความคาดหวังมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เท่าที่จะทำได้ การเลือกภาษาที่จะทำให้เข้าใจชัดเจน และสื่อสารได้อย่างง่ายแก่การเข้าใจกับกลุ่มผู้ชม จัดลำดับความสำคัญของการประเมินผลที่คุณต้องการนำเสนอในครั้งนี้
การสื่อสารในการประเมินผล

การสื่อสารผลการประเมินให้กับหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะสามารถช่วยให้ หน่วยงานต่างๆ ในองค์กรสามารถนำข้อมูลไปตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของโครงการ และการให้การ ด้านการเงิน การวางแผนเชิงกลยุทธ์ สำหรับองค์กรในภาพรวมต่อไป

เทคนิคการสื่อสารผลงานเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสู่หน่วยงานภายนอก
  • การเตรียมแพคเกจของสื่อที่จะใช้เล่าเรื่องราวของผลลัพธ์และผลกระทบของการทำงาน
  • การจัดทำเว็บไซต์เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ของหน่วยงาน หรือ องค์กร
  • การทำเอกสารภายแพร่ข่าวสาร ผ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

วันที่ 2: ฝึกปฎิบัติวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและนำเสนอการประเมินผลโครงการ

การทดลองฝึกการวิเคราะห์ความเสี่ยงและการนำเสนอรายงานการประเมินผลโครงการ

ฝึกปฎิบัติทดลองการเติมข้อมูลในตาราง Excel Template นำเสนอผลงานของแต่ละคนในที่ประชุม และตอบข้อซักถาม

ผู้เข้ารับการอบรมนำเสนอผลงานด้านการวิเคราะห์ความความเสี่ยงของโครงการ
วิทยากรบรรยายสรุป

ตอบข้อสักถามและบรรยายสรุป

ลงทะเบียน

สถิติการลงทะเบียน
ราคาค่าลงทะเบียน : 5000 บาท
จำนวนที่รับสมัคร : 20 คน
จำนวนคนที่ลงทะเบียนแล้ว : 0 คน

หมายเหตุ : คุณต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะลงทะเบียนได้

ลงทะเบียนเข้าอบรม

เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ระยะเวลาหลักสูตร : 2 วัน
ระยะเวลาอบรม : 08:30 - 16:30
การสนับสนุน : 24x7 ตอบคำถามและข้อสงสัยทางอีเมล์
ประสบการณ์ผู้เข้าอบรม : ประสบการณ์ 1-2 ปี มี ประสบการณ์เขียนแผนงานโครงการ

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • แนวคิดและวิธีการต่างๆ เกี่ยวกับความเสี่ยง
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของงาน
  • วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงิน
  • การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ
  • เครืองมือ Excel Template สำหรับใช้ในงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทักษะด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการ
  • เทคนิคการอธิบายความเสี่ยงโครงการต่อ สคร.
  • การใช้เครื่องมือช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์
  • เครื่องมือที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  • ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการละเลยด้านความเสี่ยง
  • การบริหารจัดการโครงการที่ดีตามมาตรฐาน

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยง

รูปแบบการฝึกอบรม

E-mail  Q&A 
PDF Print Print 
Twitter Facebook