PROJECT MANAGEMENT : PROJECT EVALUATION ON INVESTMENT COURSE

การติตตามและประเมินผลโครงการ : สำหรับธุรกิจเอกชน

การวิเคราะห์งานโครงการของบริษัทเอกชนส่วนใหญ่จะเน้นที่ผลตอบแทนทางการเงิน ที่คุ้มค่าการลงทุน ดังนั้นการประเมินผลโครงการจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการคัดกรอง โครงการต่างๆ ที่จะลงทุน เพราะบริษัทต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่าในโครงการ จะต้องประเมินผลโครงการที่มีอย่างครอบคลุมและถูกต้อง ด้วยความพร้อมของทีมงาน InterFinn ที่มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถให้การสนับสนุนท่านได้อย่างดี


โครงสร้างหลักสูตร

วันที่ 1: กระบวนการคิดและแนวทางการวิเคราะห์โครงการ

กระบวนการคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงการ

    แนวคิดของการวิเคราะห์โครงการ
  • การวิเคราะห์โครงการ เป็นการตรวจสอบแผนธุรกิจที่มีผู้เสนอโครงการเข้ามา และมีความจำเป็นที่จะ ต้องเลือกแผนธุรกิจที่มีความน่าสนใจจริงๆ เพื่อนำมาพิจารณาลงทุนเพื่อผลตอบแทนทางการเงินในอนาคต
  • องค์ประกอบของเอกสารแบบฟอร์มวิเคราะห์โครงการ
  • บทสรุปผู้บริหาร : จะสรุปสิ่งที่เป็นประเด็นหรือปัญหาโครงการที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการแก้ไข โดยปกตแล้วบทสรุปผู้บริหารยังให้ข้อมูลพื้นฐานและเหตุผลความจำเป็นของโครงการ ประเด็นความน่าสนใจ
  • วัตถุประสงค์ของโครงการ / ความสมเหตุสมผล : อธิบายวัตถุประสงค์และเหตุผลของโครงการ และควรจะให้เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความจำเป็นสำหรับโครงการนี้ ความเป็นไปได้ของโครงการ
  • รายละเอียดโครงการ : จะเป็นการสรุปประเด็นที่สำคัญๆ ที่สามารถเป็นไปได้ของโครงการที่จะทำได้ และสิ่งที่ตั้งใจจะทำให้สำเร็จ ที่สามารถวิเคราะห์ในเชิงปริมาณได้ มีหน่วยวัดที่แน่นอน
  • ความเสี่ยง : ทุกโครงการมีรูปแบบของความเสี่ยงซ่อนอยู่ในแผนธุรกิจ นักวิเคราะห์โครงการจำเป็น ค้นหาให้พบ และทำการประเมินความเสี่ยงของโครงการนั้นๆ
  • การส่งมอบโครงการ : ควรแสดงรายการทั้งหมดที่โครงการนี้จะส่งมอบให้ลูกค้า ผู้สนับสนุนโครงการ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ หรือระหว่างดำเนินการอง
  • ตารางสรุป Milestone : จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดเวลาโดยประมาณของเหตุการณ์ ในระดับสูง หรือกิจกรรมเด่นๆ ของโครงการอย่างชัดเจน
  • งบประมาณของโครงการอย่างย่อ : สรุปองค์ประกอบของงบประมาณค่าใช้จ่ายทั่วไป และค่าใช้จ่ายตามแผนของโครงการ ซึ่งนักวิเคราะห์จะต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจน
  • หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ : นักวิเคราะห์จะต้องเข้าใจความต้องการของบริษัท ในการกำหนด เกณฑ์การพิจารณาอนุมัติและประสบความสำเร็จของโครงการที่สนใจจะลงทุน

การกำหนดวัตถุประสงค์ และรวบรวมข้อมูลและการจัดระเบียบ

  • ยืนยันความต้องการข้อมูลตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การพัฒนาตัวชี้วัดโครงการ
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
กระบวนการคิดเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการ

ความหมายของการประเมินผลโครงการ

  • การวัดผลและประเมินผลโครงการเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นภาพรวมของโครงการที่ชัดเจน การประเมินทางด้านการเงินที่คุ้มค่าการลงทุน การวัดผลด้านการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ
  • องค์ประกอบของการประเมินผลโครงการ

  • การประเมินผลกระบวนการ หรือ การประเมินประสิทธิภาพ : จะเน้นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ของโครงการ โดยการศึกษากระบวนการจัดทำกิจกรรมต่างๆ (Activity) ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
  • การประเมินผลที่ได้รับของโครงการ หรือ การประเมินประสิทธิผล : จะเน้นการวิเคราะห์ประสิทธิผล ของโครงการโดยศึกษาว่าผลงาน (Outputs) ของโครงการสามารถนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ ของโครงการได้หรือไม่?
  • การประเมินผลกระทบโครงการ : จะเน้นการวิเคราะห์ผลที่ได้รับต่อเนื่องจากประสิทธิผล ของโครงการ โดยศึกษาว่าผลที่ได้รับจากวัตถุประสงค์ของโครงการช่วยให้บรรลุเป้าหมายแผนงาน
การวิเคราะห์โครงการ 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1
  • ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้ถือหุ้น ผู้ก่อตั้ง ทีมงานที่บริหาร ความสำคัญของพวกเขา? ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ประสบการณ์และชื่อเสียงของผู้บริหาร
  • การตั้งคำถาม : คุณจะต้องวิเคราะห์ อะไรคือสิ่งที่คุณสนใจเกี่ยวกับโครงการนี้ ? สิ่งที่สำคัญของโครงการนี้มีความสัมพันธ์กับธุรกิจของคุณหรือไม่ ? สิ่งที่ต้องการให้บรรลุผล ?
ขั้นตอนที่ 2
  • การสรุปข้อมูลเบื้องหลังที่มาของโครงการ : สรุปผลงานที่ผ่านมาสั้นๆ รวมทั้งสิ่งที่ประสบความสำเร็จ สิ่งที่ โดดเด่นและความมีเหตุผลที่สำคัญๆ สำหรับโครงการปัจจุบัน เช่น วิธีการที่คุณจะใช้ประเมินโครงการ?
  • จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ : นักวิเคราะห์จะต้องสรุปประเด็นให้ได้ว่าวัตถุประสงค์เฉพาะที่ต้องการจะให้ โครงการนี้บรรลุผลสำเร็จ คืออะไร?
  • พิจารณาวิธีการของกลยุทธ์ : นักวิเคราะห์จะต้องพิจารณาวิธีการด้านยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่ใช้ ในการทำงาน ปัจจัยความสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการนี้ คืออะไร ?
  • พิจารณาผลงานที่จะส่งมอบของโครงการ : นักวิเคราะห์จะต้องมีการจัดทำข้อมูลผลงานที่จะส่งมอบมาทำ เป็นตาราง The workpackage
  • Project Partners : รายชื่อของพันธมิตรของโครงการทั้งหมด (รวมถึงผู้รับเหมาช่วง) บทบาทของ พวก Partners บุคคลที่ติดต่อหลัก เอกสารที่ลงนามในสัญญากิจการร่วมค้า (หรือจะลงนาม) ขอสำเนาด้วย
  • Project Management : นักวิเคราะห์จะต้องอธิบายกรอบแนวทางการบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กรของเขา กระบวนการตัดสินใจและบทบาทของคณะกรรมการจัดการใดๆ ในประเทศ รายชื่อทีมงานผู้บริหารที่มีอำนาจ รายละเอียดประวัติแต่ละคน บทบาทและอำนาจตัดสินใจ ข้อมูลการติดต่อกับพวกเขาทั้งหมดทุกคน
  • Project Outcomes : นักวิเคราะห์จะต้องหาประเด็นที่เป็นผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการจะได้เป็นเกณฑ์ และ พิจารณาดูผลลัพธ์ที่ได้จากการลงทุนในโครงการเหล่านี้ ว่าโครงการใดตอบสนองความต้องการได้ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 3
  • Timing : นักวิเคราะห์จะต้องนำข้อมูลผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในอดีตมาพิจารณา มาพิจารณาหลังจากที่ได้มีการเริ่มโครงการไป 6 เดือน หรือ 2 ปี ผลการดำเนินงานของโครงการมี เบี่ยงเบนมากน้อยจากเดิมประมาณใด? จุดอ่อนต่างๆ มีการบริหารจัดการความเสี่ยงไปรึยัง?
  • ความคิดเห็นจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก : ข้อเสนอแนะหรือคำติชมจากภายนอก หรือผู้ใช้บริการ มีความสำคัญอย่ามากต่อการวิเคราะห์และประเมินโครงการ ด้านผลลัพธ์ และผลกระทบต่อโครงการ
  • มีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์บางอย่างในโครงการ : นักวิเคราะห์จะต้องมีความรู้และความเข้าใจใน กระบวนการ ผลิต กระบวนการทำงานในเชิงลึกที่เป็นความลับของโครงการที่คุณจะลงทุน ด้วยการตั้งสมมติฐานว่า
    • การผลิต/การให้บริการ (ยังคงสมบูรณ์เป็นปกติดีหรือไม่?)
    • ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (ยังคงเหมือนเดิม ตามมาตรฐานที่ได้มีการกำหนดไว้ตั้งแต่ขั้นแผน)
    • เป้าหมายที่เกิดขึ้น (เป้าหมายของผลิต ผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย เปลี่ยแปลงดีขึ้น เลวลง)
    • คุณธรรม/จริยธรรม (ผู้บริหาร พนักงานที่เป็นบุคคลสำคัญ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร) แผน/วิธีการประเมินโครงการ : นักวิเคราะห์จะต้องระบุวิธีการหรือเกณฑ์ที่จะประเมินคุณภาพของโครการ และความสำเร็จของโครงการ รายการปัจจัยที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาประเมิน ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 4
  • การรวบรวมหลักฐาน : นักวิเคราะห์จำเป็นที่จะต้องมีการรวบรวมเอกสารหลักฐาน เพื่อจะมายืนยันความ น่าเชื่อถือของโครงการที่กำลังพิจารณา พิสูจน์คุณค่าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คุณภาพของทีมงานที่บริหาร ด้วยวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
  • ตัวชี้วัด : ความท้าทายที่สำคัญในการพัฒนาแผนงานของโครงการ คือ การสร้างตัวชี้วัดหลายระดับ ด้วยการสร้างเป็น Checklist Template ของคุณเอง และให้เจ้าของโครงการและทีมงานตอบแบบสอบถาม แล้วนำมาประมวลผลความพึงพอใจ ความน่าเชื่อถือของโครงการอีกครั้ง
  • แหล่งที่มา : ก่อนที่จะมีการพิจารณาเก็บรวบรวมข้อมูล ควรจะให้ความสำคัญกับสถานที่แหล่งที่มาของข้อมูล อาจจะมาจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลวิจัยของธนาคาร บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อมูลสถิติจากรัฐ
  • วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : เอกสารที่เป็นคู่มือของกระบวนการผลิต การให้บริการ เอกสารการวิจัยต่างๆ สมมติฐานของโครงการ เอกสารการจัดทำสำรวจในขั้นตอนการริเริ่มโครงการ ฯลฯ พิสูจน์ความน่าเชื่อถือ
ขั้นตอนที่ 5
  • ขั้นตอนการวิเคราะห์โครงกร : เมื่อนักวิเคราะห์ได้ทำตามขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ขั้นที่ 1 - 4 ก็เป็นขั้นตอน การวิเคราะห์ตัวเลขทั้งหมด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเอกสารหลักฐานที่มีทั้งหมด กับความน่าเชื่อถือของ ที่เขียนไว้ในแผนธุรกิจของโครงการ นักวิเคราะห์จะต้องมีการประเมินผลตัวชี้วัดที่เหมาะสม และข้อมูลที่ รวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล ด้วยการตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นด้วยตนเองโดยไม่พึ่งคนอื่น
  • การเปรียบเทียบ : นักวิเคราะห์จะต้องทำการเปรียบเทียบข้อมูลผลการวิเคราะห์ที่พิจารณากับ องค์กรอื่นๆ ที่มีศักยภาพด้านผลการดำเนินงาน ประเภทของธุรกิจ การแข่งขันของธุรกิจในตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 6
  • สรุปรายงานผลการวิเคราะห์ : วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ เพื่อนำข้อมูลในการวิเคราะห์มาใช้ ในการปรับปรุงโครงการในระหว่างที่กำลังดำเนินโครงการ และให้คำแนะนำสำหรับการลงทุนด้านการเงิน สำหรับโครงการในอนาคต และใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของโครงการ
  • วิทยากรอธิบายแบบฟอร์มการวิเคราะห์ และ Excel Template ที่จะใช้ในการทำงานวันที่ 2 ที่อบรม
  • ตอบข้อสักถามและบรรยายสรุป

วันที่ 2: วิธีการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ

วิธีการประเมินผลและตีค่าความคุ้มค่าของโครงการ

ฝึกปฎิบัติทดลองการเติมข้อมูลในตาราง Excel Template ความคุ้มค่าของโครงการ ประเมินผลด้านความคุ้มค่าของโครงการ

นำเสนอผลงานในที่ประชุม และตอบข้อซักถาม
ทุกท่านจะต้องนำเสนอผลงานของตนเองให้อาจารย์และเพื่อนๆ ช่วยกันเสนอแนะความเห็น
วิทยากรบรรยายสรุป

ตอบข้อสักถาม และสรุปการบรรยาย

ลงทะเบียน

สถิติการลงทะเบียน
ราคาค่าลงทะเบียน : 5000 บาท
จำนวนที่รับสมัคร : 20 คน
จำนวนคนที่ลงทะเบียนแล้ว : 0 คน

หมายเหตุ : คุณต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะลงทะเบียนได้

ลงทะเบียนเข้าอบรม

เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ระยะเวลาหลักสูตร : 2 วัน
ระยะเวลาอบรม : 08:30 - 16:30
การสนับสนุน : 24x7 ตอบคำถามและข้อสงสัยทางอีเมล์
ประสบการณ์ผู้เข้าอบรม : ประสบการณ์ 3-5 ปีมีประสบการณ์เขียนแผนโครงการมาก่อน

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • แนวคิดและวิธีการวิเคราะห์โครงการ
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงการ
  • วิธีการประเมินโครงการ
  • การตีค่าและประเมินผลโครงการ
  • เครืองมือ Excel Template สำหรับใช้ในงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทักษะด้านการวิเคราะห์โครงการที่ถูกต้อง
  • เทคนิคการวิเคราะห์โครงการเพื่อจัดลำดับ
  • การใช้เครื่องมือช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์
  • เครื่องมือที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  • ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการประเมินโครงการ
  • การบริหารจัดการโครงการ

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
  • บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุน
  • เจ้าหน้าที่ด้านการเงินและสินเชื่อ

รูปแบบการฝึกอบรม

E-mail  Q&A 
PDF Print Print 
Twitter Facebook