BUSINESS PLAN : STATE ENTERPRISE

การเขียนโครงการมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณและ การติดตามประเมินผล : สำหรับรัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานราชการ

การเขียนแผนโครงเพื่อเสนอของบประมาณโครงการสำหรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ เป็นสิ่้งที่มีความสำคัญอย่างมากเพราะการเขียนโครงการทั้งหมด จะต้องทำด้วยความละเอียดรอบคอบ นอกจากนี้ยังจะต้องสามารถนำมาใช้ประกอบ การของบประมาณและติดตามประเมินผลโครงการด้วย


โครงสร้างหลักสูตร

วันที่ 1: กระบวนการคิดและวิธีการเขียนแผนงาน/โครงการ
กระบวนการคิดเกี่ยวกับการเขียนแผนงาน/โครงการ
ความหมายของการวางแผนและการเขียนโครงการ
  • โดยการใช้หลัก 11 ขั้น เช่น ชื่อโครงการจะต้องระบุให้ได้ว่า (จะทำอะไร? กับใคร? เรื่องอะไร?)
  • อธิบายหลักการคิดที่ ง่าย ใช้งานได้จริง ตรงประเด็น เน้นประสบการณ์
องค์ประกอบของโครงการ
  • ชื่อโครงการ : จะทำอะไร? กับใคร? เรื่องอะไร?
  • หลักการและเหตุผล : เกิดปัญหาอะไร? กับใคร? ที่ไหน? เมื่อใด? จำเป็นต้องทำ?
  • วัตถุประสงค์ เป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมาย + ผลประโยชน์ที่ได้รับ (ปัญหาสิ้นสุด)
  • วิธีดำเนินงาน หรือ กิจกรรม : ขั้นตอน + ระยะเวลา + ผู้รับผิดชอบ
  • ระยะเวลาการดำเนินการ : กำหนดระยะเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุด (วัน - เดือน - ปี)
  • สถานที่หรือพื้นที่ดำเนินการ : ระบุหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาคต่างๆ
  • งบประมาณ : ผูกกับกิจกรรม + ค่าตอบแทน + วัสดุ + สิ่งก่อสร้าง
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ หรือ หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ระบุใครเป็นผู้รับผิดชอบ
  • การติดตามและประเมินผล: ระบุ KPI ผลผลิต ผลลัพธ์ วิธีการติดตามประเมินผล
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ผลที่เกิดนอกเหนือจากผลลัพธ์
วิธีวิเคราะห์ลักษณะของโครงการที่ดี
  • เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
  • มีรายละเอียดเนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน จำเพาะเจาะจง ครบตามองค์ประกอบของโครงการ
  • รายละเอียดโครงการเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล
  • มีผลผลิต ผลลัพธ์ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม จับต้องได้
  • โครงการมีความเป็นไปได้ ปฎิบัติได้จริง เข้าใจได้ง่าย
  • โครงการที่สามารถติดตาม และประเมินผลได้ตามมาตรฐานสำนักงบประมาณ
สมมุติฐานในการเขียนแผนงาน/โครงการ

การกำหนดความคุ้มค่าของโครงการ : จะต้องมีการพิจารณาหลัก 4 ประการในการจัดทำ โครงการ อาทิ ความประหยัด (Economy) ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) และความยุติธรรม (Equity)

การกำหนดตัวบ่งชี้ KPI : เครื่องมือหรือดัชนีที่ใช้วัดความก้าวหน้าการบรรลุแต่ละเป้าประสงค์ ซึ่งจะต้องสามารถวัดผลและกำหนดเป้าหมายของความสำเร็จของโครงการได้

การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ : กลุ่มบุคคล/องค์กรที่จะได้รับผลกระทบ หรือเป็นผู้สร้างผลกระทบในเรื่องใดเรื่องหนึ่่ง ทำให้ต้องมีการจัดทำแผนงาน/โครงการนี้ขึ้นมา

วิธีการเขียนแผนงาน/โครงการ

วิธีการตั้งชื่อโครงการ : การตั้งชื่อโครงการต้องสั้นกระชับ สรุปงานที่กำลังจะทำได้ เข้าใจง่าย อาจจะนำ กิจกรรมหลักของโครงการมาตั้งเป็นชื่อของโครงการ เพื่อให้ง่ายแก่ความเข้าใจ การตั้งชื่อโครงการจะต้องไม่คลุมเครือ เป็นนามธรรม ไม่มีคำกริยาว่าจะทำอะไร

วิธีการเขียนหลักการและเหตุผล : ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้น และต้อง อธิบายผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินตามโครงการ หลักการเขียนเหตุผลจะต้อง สอดคล้องกับนโยบาย สอดคล้องกับแผนจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ หรือแผนอื่นๆ

วิธีการเขียนวัตถุประสงค์และเป้าหมาย : จะต้องบอกให้ได้ว่าโครงการนี้ต้องการจะให้เกิดอะไร? มีความชัดเจน ปฎิบัติได้จริง สามารถประเมินผลเป็นระยะๆ ได้ เขียนให้เป็นรูปธรรมง่ายแก่การเข้าใจ

เป้าหมาย : ระบุไปเลยว่าจะดำเนินการสิ่งใด สามารถวัดผลในเชิงปริมาณได้ และสามารถทำได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด มีการระบุเป้าหมาย และมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

วิธีการเลือกขั้นตอนการดำเนินงาน : อธิบายงานหรือภาระกิจ ซึ่งจะต้องปฎิบัติในการดำเนิน โครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป็นขั้นของการเตรียมโครงการด้วยการนำทุกอย่างมาจัดเรียง สิ่งใดควรกระทำก่อน - สิ่งใดควรกระทำหลัง และเขียนเป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนจนบรรลุผลสำเร็จ

วิธีการจัดทำแผนภูมิแสดงขั้นตอนการปฎิบัติงาน : การระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจน เสร็จสิ้นโครงการ ด้วยการระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น ระบุกิจกรรมที่จะทำในแต่ละช่วงเวลา มีการกำหนดระยะเวลาโครงการที่ชัดเจน เช่น 6 เดือน หรือ 2 ปี และระบุการเบิกจ่ายเงินตามงวดงาน

วิธีการติดตามและประเมินผลโครงการ : การบอกแนวทางว่าการติดตามและประเมินผลโครงการ ควรจะมีแนวทางปฎิบัติอย่างไร ใช้เวลาเท่าใดในการติดตามแต่ละช่วงเวลา การประเมินผลสำเร็จ


วันที่ 2: เขียนแผนงาน/โครงการ จริงด้วยโปรแกรม Excel Template

ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านจะต้องทดลองฝึกการเขียนแผนงาน/โครงการในส่วนของข้อมูลพื้นฐาน

นำโครงการที่เลือกมาทดลองปฎิบัติจริงกับ โปรแกรมการเขียนแผนงาน/โครงการที่ได้เตรียมไว้ ทดลองกรอกข้อมูล โดยผู้เข้าเรียนแต่ละคนจะต้องปฎิบัติด้วยตนเองผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ เขียนสูตรคำนวณด้านการเงินด้วยโปรแกรม Excel

นำเสนอผลงานในที่ประชุม และตอบข้อซักถาม
ทุกท่านจะต้องนำเสนอผลงานของตนเองให้อาจารย์และเพื่อนๆ ช่วยกันเสนอแนะความเห็น
วิทยากรบรรยายสรุป

ตอบข้อสักถามและบรรยายสรุป

ลงทะเบียน

สถิติการลงทะเบียน
ราคาค่าลงทะเบียน : 5000 บาท
จำนวนที่รับสมัคร : 20 คน
จำนวนคนที่ลงทะเบียนแล้ว : 0 คน

หมายเหตุ : คุณต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะลงทะเบียนได้

ลงทะเบียนเข้าอบรม

เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ระยะเวลาหลักสูตร : 2 วัน
ระยะเวลาอบรม : 08:30 - 16:30
การสนับสนุน : 24x7 ตอบคำถามและข้อสงสัยทางอีเมล์
ประสบการณ์ทำงาน : ใครก็เข้าเรียนได้ไม่ต้องมีประสบการณ์
ประสบการณ์ผู้เข้าอบรม : ใช้โปรแกรม Excel คล่อง

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเขียนแผนงานโครงการ
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของงาน
  • ลักษณะของการเขียนโครงการที่ดี
  • วิธีการคิดความคุ้มค่าของโครงการ
  • การทดลองปฎิบัติจริงพร้อมเครืองมือช่วย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • คุณจะรู้วิธีเคล็ดลับการเขียนโครงการที่ดี
  • คุณจะสามารถมีวิธีคิดที่เป็นระบบ
  • คุณจะสามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานได้
  • คุณจะมีเครื่องมือที่ช่วยในการเขียนแผนงาน
  • คุณจะมีเครื่องที่ใช้อธิบายความคุ้มค่าโครงการ
  • รู้เทคนิคการนำเสนอโครงการ

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

รูปแบบการฝึกอบรม

E-mail  Q&A 
PDF Print Print 
Twitter Facebook