RISK MANAGEMENT : KEY RISK INDICATOR (KRI)

การบริหารความเสี่ยง : ตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สำคัญ สำหรับรัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานราชการ

หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจสามารถพัฒนาเครื่องเตือนภัยล่วงหน้าโดยใช้เครื่องมือด้านความเสี่ยง ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงหลัก (Key Risk Indicator : KRI) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดกิจกรรมที่อาจจะทำให้ องค์กรมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงอาจมีหลายตัวก็ได้ ขึ้นอยู่กับการระบุสาเหตุความเสี่ยง

ประโยชน์ของดัชนีชี้วัดความเสี่ยงหลัก
  1. ใช้ในการพิจารณาทิศทางของความเสี่ยงว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  2. เป็นสัญญาณเตือน (Early warning) เพื่อนำไปสู่การค้าหาสาเหตุและปรับปรุงแก้ไขได้ทันต่อเหตุการณ์
  3. ใช้สนับสนุนการวัดความเสี่ยงเชิงปริมาณ และกิจกรรมการควบคุมภายใน
  4. แสดงถึงความสัมพันธ์ของการจัดการความเสี่ยงในด้านต่างๆ ขององค์กร เช่น ด้านการเงิน

โครงสร้างหลักสูตร

วันที่ 1: กระบวนการคิดและแนวปฎิบัติเกี่ยวกับ Key Risk Indicator : KRI
กระบวนการคิดเกี่ยวกับ Key Risk Indicator
แนะนำเกี่ยวกับ Key Risk Indicator
  • อะไรคือ? Key Risk Indicators : ตัวชี้วัดการประเมินผลสิ่งจำเป็นในเชิงรุกในการจัดการกับความเสี่ยงที่พยากรณ์ไว้และตรวจสอบด้วยเวลาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการทำงานผิดปกติ และระบุแนวทางการแก้ไขล่วงหน้า
  • ประโยชน์ของ KRI : เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สำคัญและมีประโยชน์มากในการสนับสนุนการ ตัดสินใจ กับการจัดการความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์/พันธกิจขององค์กร
  • ข้อจำกัดของ KRI : มีการเลือกตัวแปรที่จะนำมาใช้เป็น KRI ไม่ถูกต้องหรือมีฐานข้อมูลที่ไม่ชัดเจน หรือมีปริมาณน้อย จะทำให้การคำนวณและพยากรณ์ผิดพลาดได้
วิธีการพัฒนาเครื่องมือ Key Risk Indicator

การพัฒนาเครื่องมือ KRI เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อใช้ปรับปรุงเป้าหมายของ การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จและเป็นเครื่องมือที่มีนัยสำคัญ และมีการพัฒนาใช้กันอย่างกว้างขวาง

ขั้นตอนการพัฒนา KRI : เริ่มต้นด้วยการค้นหาความเสี่ยง
  1. ระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง : การระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการทำงานขององค์กร และการเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงสำหรับความเสี่ยงเหล่านั้น
  2. วัดประสิทธิผลของตัวชี้วัดความเสี่ยงขององค์กร : .. การประเมิน GAP : จะใช้มิติ (ความถี่ วัดระดับการเรียกเกณฑ์สำหรับจุดเสี่ยง รายละเอียดของตัว ชี้วัดเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล) และนำมาจัดอันดับ ความเสี่ยง 1-5 เพื่อใช้ในการตัดสินใจความมีประสิทธิผลของ KRI .. การออกแบบตารางเมตริกซ์ : เป็นเมตริกซ์ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดความเสี่ยง ต่างๆ และระดับดีกรีของสาเหตุความเสี่ยง เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพดีมาก
  3. ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำตัวชี้วัดความเสี่ยงที่ถูกเลือก : ทำการทดสอบกับเครื่องมือในการประเมิน ช่องว่างและเมตริกซ์ที่ได้ทำการออกแบบไว้ และตรวจสอบว่าตัวชี้วัดใดไม่เหมาะสมต้องถูกนำออกไปจาก เครื่องมือ ต้องมีตัวชี้วัดอย่างน้อย 5 ตัว ขั้นตอนการพัฒนา KRI ด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยง
  4. ตรวจสอบตัวชี้วัดความเสี่ยงและระบุระดับความสำคัญ ด้วยข้อมูลสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเกี่ยวกับความเสี่ยง
  5. ออกแบบรายงาน Dashboard Report ด้วยการใช้กราฟ ฯลฯ เพื่อช่วยให้เข้าใจ KRI ได้ง่ายขึ้น และเพื่อทบทวนการดำเนินการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ
  6. ทำแผนการควบคุม เป็นการดำเนินงานขั้นสุดท้ายของการดำเนินงานทั้งหมดเกี่ยวกับ KRI และ แผนการจัดการควบคุมจะช่วยให้การใช้เวลาในการบริหารจัดการล่วงหน้า
วิธีการใช้ KRI

ขั้นตอนนี้จะแนะนำวิธีการนำ KRI มาใช้กับการบริหารความเสี่ยงองค์กร

  • การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจะช่วยป้องกันความล้มเหลวของโครงการและช่วยลด ความเสี่ยงด้านเครดิต
  • การจัดการกับโอกาสของความเสี่ยง : ส่วนใหญ่จะนำข้อมูลด้านความเสี่ยงมาจาก Operational Dept. ซึ่งเป็นปกติสำหรับการก่อให้เกิดอัตราความสำเร็จหรือความไม่สำเร็จโดยรวมได้
  • ขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องใช้ Checklist ช่วยในการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และมีความถี่เป็นประจำเพื่อดูลักษณะของความเสี่ยงเหล่านั้น
KRI Dos and Don'ts

KRI ถ้ามีการออกแบบอย่างเหมาะสม สามารถพิสูจน์ได้ผลสำเร็จในสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ขององค์กรได้

รูปแบบของ KRI สำหรับธุรกิจทั่วไป ประกอบด้วย : องค์กรจะมีการกำหนดประเภทของความเสี่ยง
  1. ความเสี่ยงด้านปัจจัยภายนอก : อาจจะรวมถึงความเสี่ยงที่ไม่ใช่ทางการเงิน การกู้ยืม การส่งวัตถุดิบของซัพพลายเออร์ และอื่นๆ
  2. ความเสี่ยงเกี่ยวกับพนักงาน : อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน ชั่วโมงทำงานล่วงเวลา ความสามารถและประสิทธิภาพ KPI รายบุคคล
  3. ความเสี่ยงด้านระบบคอมพิวเตอร์ : การนำปัญหาและอุปสรรคที่พบเป็นประจำที่ยังแก้ไขไม่ได้ของ ผู้ใช้งานและการเชื่อมโยงแบบบูรณาการทั่วทั้งองค์กร ทั้งด้าน Hardware & Software
  4. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน : การนำตัวชี้วัดการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือ ตัวชี้วัดความ สำเร็จของโครงการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญๆ มาใช้เป็นตัวฐานของ KRI

แบ่งกลุ่มทำ Checklist เก็บค่าตัวชี้วัดความเสี่ยง

เก็บข้อมูลเพื่อค้นหาตัวชี้วัดความเสี่ยงด้วย checklist แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานที่ได้มีการ

เก็บข้อมูลให้ที่ประชุมทราบ

ตอบข้อซักคำถามและบรรยายสรุป

วันที่ 2: ทดลองใช้โปรแกรม KRI ด้วย Excel Template
อธิบายวิธีการทำ KRI ด้วยโปรแกรม Excel

ฝึกปฎิบัติทดลองการทำ KRI ด้วยโปรแกรม Excel Template

นำเสนอผลงานในที่ประชุม และตอบข้อซักถาม

ผู้เข้ารับการอบรมนำเสนอผลงานของกลุ่ม

วิทยากรบรรยายสรุป

ตอบข้อสักถามและบรรยายสรุป

ค่าใช้จ่าย 6,000 บาท/คน
ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน + Template
Email :interfinn@gmail.com
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณตุ้ย โทรศัพท์ 081 588 1532


ลงทะเบียน

สถิติการลงทะเบียน
ราคาค่าลงทะเบียน : 5000 บาท
จำนวนที่รับสมัคร : 20 คน
จำนวนคนที่ลงทะเบียนแล้ว : 0 คน

หมายเหตุ : คุณต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะลงทะเบียนได้

ลงทะเบียนเข้าอบรม


เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ระยะเวลาหลักสูตร : 2 วัน
ระยะเวลาอบรม : 08:30 - 16:30
การสนับสนุน : 24x7 ตอบคำถามและข้อสงสัยทางอีเมล์
ประสบการณ์ผู้เข้าอบรม : ประสบการณ์ 1-2 ปี มีประสบการณ์ด้านการ บริหารความเสี่ยงองค์กร

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • แนวคิดและวิธีการเกี่ยวกับความเสี่ยง
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง KRI
  • วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงิน
  • เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง
  • เครืองมือ Excel Template สำหรับความเสี่ยง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทักษะด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการ
  • เทคนิคการกำหนดตัวชี้วัดความเสี่ยง
  • การใช้เครื่องมือช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์
  • เครื่องมือที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  • ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการละเลยด้านความเสี่ยง

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยง

รูปแบบการฝึกอบรม