PROJECT MANAGEMENT : COST BENEFIT ANALYSIS

การติตตามและประเมินผลโครงการตามมาตรฐานสำนักงบประมาณ และ สคร. : สำหรับรัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานราชการ

หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ต่างประสบปัญหาในการหาทฤษฎี หรือ แนวทาง และเครื่องมือที่จะนำมา ใช้ในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ ที่มีลักษณะในเชิงสังคม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร แต่มุ่งหวัง การตอบสนองคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย และใช้ตอบคำถามของ สำนักงบฯ หรือ สคร. InterFinn มีความพร้อมของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้คำแนะนำและเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้จริง


โครงสร้างหลักสูตร

วันที่ 1: กระบวนการคิดและแนวทางการตีค่าความคุ้มค่าของโครงการ
กระบวนการคิดเกี่ยวกับความคุ้มค่าของโครงการ

ความหมายของ Cost Benefit Analysis

  • การวิเคราะห์มูลค่าของเงินที่จ่ายไปในโครงการเพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ และนำผลผลิต ผลลัพธ์ มาประเมินความพึงพอใจด้านนโยบายที่กำหนด และความคุ้มค่าทางบัญชี ทั้งด้านสังคมและ เศรษฐศาสตร์ (การวิเคราะห์ด้านค่าใช้จ่าย VS ผลประโยชน์ที่ได้รับ)
  • องค์ประกอบของ Cost Benefit Analysis

  • เป็นเครื่องมือในการประเมินโครงการในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ หรือการประเมินทางสังคม
  • เป็นเครื่องมือในการนำผลกระทบของโครงการต่อภายนอก มาวิเคราะห์เป็นต้นทุนโครงการ
  • การนำเอาเรื่องของกรอบเวลามาพิจารณาในแง่มูลค่าทางเศรษฐกิจที่คิดลดตามระยะเวลา ที่ได้รับประโยชน์ล่าช้าออกไป หรือ นานมากขึ้นในอนาคต หรือการคิดลดต้นทุนตามระยะเวลา

แนวคิดการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการสำหรับโครงการเชิงสังคม

  • การประเมินการดำเนินภารกิจของรัฐเพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลประโยชน์สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้

กรอบการประเมินความคุ้มค่า

  • ประสิทธิผลการปฎิบัติภารกิจ : เป็นการประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายของ การปฎิบัติภารกิจ โดยเปรียบเทียบผลที่ได้รับจากการปฎิบัติภารกิจว่ามีความสอดคล้องตามเป้าหมาย
  • ประสิทธิภาพการปฎิบัติภารกิจ : การประเมินความเหมาะสมที่สอดคล้องของการใช้ทรัพยากร และกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตตามวัตถุประสงค์
  • ผลกระทบ : ผลอันสืบเนื่องจากการปฎิบัติภารกิจ ทั้งที่คาดหมายหรือตั้งใจ และไม่ได้คาดหมาย ทั้งที่เกิดขึ้นระหว่างและภายหลังการปฎิบัติภารกิจ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาในมิติอื่น
ความเชื่อมโยงระหว่างการประเมินความคุ้มค่าฯ กับการประเมินการปฎิบัติราชการตามคำรับรองฯ

การประเมินผลการปฎิบัติราชการ (มาตรา 45-49)

  • การยึดเป้าประสงค์และยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานเป็นกรอบในการประเมิน โดยมีขอบเขตครอบคลุมการประเมินผลสำเร็จตามเป้าหมายในระดับผลผลิต

การประเมินความคุ้มค่า (มาตรา 22)

  • การประเมินในระดับผลกระทบและผลลัพธ์ ซึ่งเชื่อมโยงต่อยอดจากการประเมินการปฎิบัติราชการการประเมินความคุ้มค่าฯ จะดำเนินการทั้งก่อนและหลังการปฎิบัติภารกิจของหน่วยงาน
ขอบเขตและตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่า

ขอบเขตการประเมินความคุ้มค่า

  • หน่วยของการประเมิน : ประเมินการปฎิบัติภารกิจในหน่วยงานระดับกรม กลุ่มภาระกิจ กระทรวง
  • ภารกิจที่ต้องประเมิน : ให้ความสำคัญเฉพาะภารกิจหลักและผลผลิตหลักของหน่วยงาน โดยที่ หน่วยงานจะต้องเป็นผู้กำหนดด้วยตนเองว่า ภารกิจหลักและผลผลิตหลักของหน่วยงานคืออะไร?
ตัวชีัวัดในการประเมินความคุ้มค่า
  • การประเมินประสิทธิภาพ : อาทิ ต้นทุนต่อหน่วย , สัดส่วนผลผลิตต่อทรัพยากร , สัดส่วนค่าใช้จ่ายจริงต่อค่าใช้จ่ายตามแผน ฯลฯ
  • การประเมินประสิทธิผล : Benefit-Cost Ratio , Cost-Effectiveness , ระดับความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์ / เป้าหมาย , ระดับความพึงพอใจ
  • การประเมินผลกระทบ : หน่วยงานจะต้องมีการประเมินผลกระทบต่อประชาชนภายหลังเสร็จสิ้น การปฎิบัติภารกิจ โดยกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน
  • การวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ
กรณีตัวอย่างของการวิเคราะห์ด้วยการตีค่าความคุ้มค่าของโครงการ

กรณีศึกษาต่างๆ

ตอบข้อสักถามและบรรยายสรุป


วันที่ 2: วิธีการตีค่าความคุ้มค่าของโครงการ

วิธีการประเมินผลและตีค่าความคุ้มค่าของโครงการ

ฝึกปฎิบัติทดลองการเติมข้อมูลในตาราง Excel Template ความคุ้มค่าของโครงการ ประเมินผลด้านความคุ้มค่าของโครงการ

นำเสนอผลงานในที่ประชุม และตอบข้อซักถาม
ทุกท่านจะต้องนำเสนอผลงานของตนเองให้อาจารย์และเพื่อนๆ ช่วยกันเสนอแนะความเห็น
วิทยากรบรรยายสรุป

ตอบข้อสักถาม และสรุปการบรรยาย

ลงทะเบียน

สถิติการลงทะเบียน
ราคาค่าลงทะเบียน : 6000 บาท
จำนวนที่รับสมัคร : 20 คน
จำนวนคนที่ลงทะเบียนแล้ว : 0 คน

หมายเหตุ : คุณต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะลงทะเบียนได้

ลงทะเบียนเข้าอบรม

เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ระยะเวลาหลักสูตร : 2 วัน
ระยะเวลาอบรม : 08:30 - 16:00
การสนับสนุน : 24x7 ตอบคำถามและข้อสงสัยทางอีเมล์
ประสบการณ์ผู้เข้าอบรม : ประสบการณ์ 2-3 ปีมีประสบการณ์เขียนแผนงานโครงการ

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • แนวคิดและวิธีการต่างๆ เกี่ยวกับความคุ้มค่า
  • เครื่องมือที่ใช้ในการตีค่าความคุ้มค่าของงาน
  • วิธีการตีค่าความคุ้มค่างานด้านเชิงสังคม
  • การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ
  • เครืองมือ Excel Template สำหรับใช้ในงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทักษะด้านการตีค่าโครงการที่ถูกต้อง
  • เทคนิคการอธิบายความคุ้มค่าโครงการต่อ สคร.
  • การใช้เครื่องมือช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์
  • เครื่องมือที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  • ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการตีค่าโครงการ
  • การบริหารจัดการโครงการ

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยง

รูปแบบการฝึกอบรม

E-mail  Q&A 
PDF Print Print 
Twitter Facebook